หนังสือ

พระยาตรัง นอกจากจะเป็นกวีฝีปากคมแล้ว ยังเป็นนักค้นคว้าสะสมวรรณคดีโบราณอีกด้วย ถ้าเราไม่มีพระยาตรัง เราก็จะไม่รู้จักโคลงเบ็ดเตล็ดของศรีปราชญ์ เช่น “แหวนนี้ท่านได้แต่    ใดมา …” หรือ “ธรณีภพนี้เพ่ง    ทิพยาน หนึ่งรา …”

นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่คุณ visan […]

พระยาตรังเป็นกวีในยุคต้นรัตนโกสินทร์ มีฝีปากคมคายมาก เสียดายที่งานเขียนของท่านเป็นโคลงที่ใช้คำโบราณหลายคำ ทำให้อ่านยาก คนทั่วไปเลยไม่ค่อยรู้จัก ต้องตั้งใจอ่าน เปิดพจนานุกรมบ่อยๆ จึงจะเข้าใจ แต่เมื่อเข้าใจแล้วจะต้องทึ่งในความงดงามของถ้อยคำและความหมายของพระยาตรัง

วันสุดท้ายของเดือนตุลาคม ฝรั่งก็นับว่าเป็นวันฮาโลวีน (Halloween) หรือว่าวันปล่อยผีนะครับ จริง ๆ วันฮาโลวีน นี่เป็นวันที่แปลกมากเพราะว่าเด็ก ๆ จะไปเคาะบ้านคนที่ไม่รู้จักเพื่อขอขนม ซึ่งโดยปกติแล้วฝรั่งเขาก็ไม่เคาะบ้านคนแปลกหน้านะ และก็ไม่เปิดประตูรับคนแปลกหน้าเหมือนกัน (ฝรั่งก็โจรเยอะ) แต่ก็มียกเว้นวันฮาโลวีน นี่แหละ ที่คนดูเหมือนจะไว้ใจคนอื่นมากเป็นพิเศษ (หรือว่าไว้ใจผี ก็ไม่รู้นะครับ)

หนังสือนวโกวาทเป็นหนังสือรวมคำสอนสำคัญของพุทธศาสนาแล้วจำแนกออกมาเป็นหัวข้อ ๆ เพื่อให้พระใหม่ หรือพระบวชใหม่ได้ศึกษาท่องจำได้ง่าย โดยเฉพาะพระที่ตั้งใจจะบวชแค่พรรษาเดียว (สามเดือน) จะได้ไม่ต้องไปนั่งหาอ่านในพระไตรปิฏก นอกจากนั้นคฤหัสถ์ก็สามารถอ่านนวโกวาทเป็นแนวทางชีวิตได้เช่นกัน อาจจะกล่าวได้ว่า นวโกวาทก็เหมือน Cheat sheet ของศาสนาพุทธเลยทีเดียว

หนังสือเล่มนี้ก็พูดถึงผลของการพัฒนาสมัยใหม่ที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสังคมมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคเพื่อความสุขสบายจนเกินพอดีของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยผู้เขียนใช้ภาษาง่าย ๆ เหมือนกำลังเล่าเรื่องให้เราฟังในบรรยากาศที่สบาย ๆ ทำให้อ่านได้สนุกและได้สาระครับ