รีวิว Sony Reader Pocket Edition

เขียนโดย: pruet, ธันวาคม 26th, 2009

ในหัวข้อ: รีวิว

แทก: , ,

5 ความเห็น



ท่านสามารถนำบทความใน WeRead ไปเผยแพร่ เผยแพร่ ดัดแปลง ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องทำลิงค์กลับมาที่บทความต้นฉบับเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติมที่คำประกาศสิทธิ์


หลังจากที่ได้มีโอกาสรีวิว Sony Reader Touch Edition ที่เป็นเครื่องอ่านอีบุ๊คขนาดหน้าจอ 6 นิ้วแบบจอสัมผัสไปแล้ว คราวนี้ก็เป็นคิวของน้องเล็ก Pocket Edition ที่มีหน้าจอขนาดห้านิ้วแบบธรรมดานะครับ


สำหรับสเป็คที่สำคัญของเครื่องรุ่นนี้นะครับก็คือ (ข้อมูลจาก wikipedia)

  • ชื่อ/รหัส: Sony Reader Pocket Edition/PRS-300
  • หน้าจอ: EInk Viziplex ขนาด 5 นิ้ว (วัดตามแนวทะแยง) ความละเอียดหน้าจอ 800×600 แสดงระดับสีเทาได้ 8 ระดับ
  • ขนาด/น้ำหนัก: 15.9×10.8×0.1 ซม./220 กรัม
  • หน่วยความจำภายใน: 512MB ใช้งานได้ 440MB (ใส่หนังสือแบบ PDF ได้ประมาณ 200-300 เรื่อง) – ไม่มีหน่วยความจำภายนอก
  • แฟ้มอีบุ๊คที่รองรับ: BBeB, ePub, PDF, RTF และ txt โดยรองรับ DRM ของ Adobe ด้วย
  • แบตเตอรี: อยู่ภายในถอดเปลี่ยนไม่ได้ ชาร์จหนึ่งครั้งอยู่ได้นานสองอาทิตย์ หรือประมาณ 7500 หน้า
  • สี: น้ำเงินเข้ม, ชมพูกุหลาบ และสีเงิน

จากสเป็คจะเห็นว่าโซนีตัดความสามารถออกไปเยอะเหมือนกันครับ เช่น ไม่มีหน่วยความจำภายนอก ไม่มีเครื่องเล่น MP3 ในตัว ไม่มีหน้าจอแบบสัมผัส แต่ของที่ตัดไป จะเห็นว่าไม่เกี่ยวอะไรกับการอ่านอีบุ๊คทั้งนั้น อาจจะพูดได้ว่า Pocket Edition เป็นเครื่องอ่านอีบุ๊คที่ถูกสร้างมาเป็นเครื่องอ่านอีบุ๊คเท่านั้นครับ

สำหรับกล่องของ Pocket Edition ก็จะหน้าตาคล้าย ๆ กับ Touch Edition แต่ว่าจะเล็กกว่าหน่อย

ด้านในก็จะมีสาย USB ที่ใช้ต่อกับคอมพิวเตอร์ และเป็นสายชาร์จไฟไปในตัว หนังสือคู่มือพร้อมกับใบลงทะเบียนรับประกัน (ไม่มีรับประกันแบบ International นะครับ) และซองใส่แบบพลาสติกสังเคราะห์

สำหรับหน้าตาของ Pocket Edition แบบชัด ๆ ก็ตามรูปนี้ครับ

ด้านขวามือจะมีปุ่มหมายเลข 1-10 สำหรับให้กดเลือกเมนูต่าง ๆ เหมือนกับ PRS-505 นะครับ ซึ่งส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าเป็นระบบเมนูที่ใช้งานง่ายทีเดียว ส่วนด้านล่าง แถวบนจากซ้ายไปขวาก็จะมีปุ่ม Home ที่ใช้กดกลับไปเมนูหลัก ตามด้วยปุ่ม Back ที่ใช้ย้อนกลับไปหนึ่งขั้น ปุ่มคั่นหน้า และปุ่มเปลี่ยนฟอนท์ ตามลำดับ ส่วนด้านล่างก็จะมีปุ่มเคอร์เซอร์แบบ 4 ทิศทาง ที่ใช้ในการเลือกเมนู และกดเปลี่ยนหน้าซ้ายขวาไปในตัว และปุ่มเลือกเมนูตรงกลางครับ

ด้านล่างของเครื่อง จากซ้ายไปขวา ก็จะเป็นช่องสำหรับคล้องสายคล้องมือ ช่องเสียบสาย USB แบบะ mini USB และ ช่องเสียบหัวชาร์จ(ไม่มีมาให้ แต่ใช้ของ PSP ได้ครับ) และช่องสำหรับรีเซ็ตเครื่อง ส่วนด้านบน จากซ้ายไปขวา ก็จะมีสวิทช์ปิดเปิด และไฟแสดงสถานะการชาร์จนะครับ

สำหรับขนาดนั้น ถ้าเทียบกับเครื่องอ่านขนาดหน้าจอหกนิ้วของโซนีเอง ก็จะเล็กกว่านิดหน่อยครับ

แต่ก็จะหนากว่านิดหน่อยเช่นกัน สำหรับวัสดุที่ใช้นั้น ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างน่าจะเป็นโลหะแบบเดียวกับเครื่องอ่านของโซนีรุ่นอื่น ๆ นะครับ ซึ่งก็แข็งแรงทนทานดีทีเดียว ส่วนด้านล่างน่าจะเป็นพลาสติกแข็งครับ (สีม่วงอีกต่างหาก -_-””)

สำหรับหน้าจอนั้น ก็จะเล็กกว่าหน้าจอหกนิ้วอยู่นิดหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เล็กมาก และรู้สึกว่าหน้าจอรุ่นนี้จะมีความต่างสี (Contrast) ที่ดีกว่ารุ่นเดิม พื้นจอดูเป็นสีขาวมากขึ้น ในขณะที่สีดำ ก็ดำขึ้นเช่นกัน

รูปด้านบนเป็นหน้าจอเมนูหลักนะครับ การเลือก จะใช้ปุ่มเคอร์เซอร์เลี่ยนขึ้นลงก็ได้ แต่ว่าใช้ปุ่มตัวเลขกดเลือกเอา จะง่ายกว่าครับ เมื่อเทียบกับ PRS-505 จะเห็นว่าโซนีตัดเอาความสามารถที่ไม่เกี่ยวกับการอ่านอีบุ๊คออกไปหมดนะครับ เหลือแต่ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านอีบุ๊คล้วน ๆ

สรุปเลยนะครับ โซนีออกเครื่องอ่านรุ่นนี้ โดยตัดความสามารถที่ไม่จำเป็นออกทั้งหมด เพื่อกดราคาให้เหลือต่ำกว่า $200 ซึ่งเชื่อว่า หลาย ๆ คนคงทนไม่ไหวกับราคาระดับนี้ ด้วยขนาดหน้าจอห้านิ้ว Pocket Edition เป็นเครื่องอ่านที่พกพาได้ง่ายมาก เช่นใส่กระเป๋าแจ็คเก็ต หรือว่ากระเป๋าถือผู้หญิงได้ คาดว่า คงจะเห็นคนถือเครื่องอ่านรุ่นนี้ตามรถไฟฟ้ามากขึ้นนะครับ (เมืองนอกนะครับ เพราะว่าเมืองไทยยังไม่เอาเข้ามาขาย -_-‘)

ชอบ:

  1. การออกแบบ ขนาด น้ำหนัก เหมาะกับการพกพาและการอ่าน
  2. หน้าจอที่ไม่สะท้อนแสง และอ่านได้สบายตาสมกับเป็นเครื่องอ่านอีบุ๊ค
  3. ราคาที่ต่ำมาก ที่ $199 (ประมาณ 6500-7000 บาท)
  4. หน้าจอที่เปลี่ยนการแสดงผลได้เร็ว และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งหน้าจอ

ไม่ชอบ:

  1. ไม่มีปุ่มเปลี่ยนหน้าตรงด้านข้างเครื่อง ทำให้ต้องถือเครื่องอ่านตรงด้านล่าง ซึ่งไม่สบายนัก หรือว่าต้องใช้อีกมือในการเปลี่ยนหน้า
  2. ไม่แถมปกหนังให้เหมือนสมัย PRS-505 (Touch Edition ก็ไม่แถม) ซองพลาสติกที่ให้มาคงกันกระแทกได้ดี แต่เวลาเอาหนังสือออกมาอ่าน มันต้องใช้ความพยายามมากไป สมควรไปซื้อปกหนังมาใช้

ไม่สนใจ:

  1. ไม่มีเครื่องเล่น MP3 หรือว่าโปรแกรมดูภาพ
  2. ไม่มีพจนานุกรม
  3. ไม่มีระบบ Wireless สำหรับติดต่อร้านหนังสือ
  4. ไม่มีหน่วยความจำภายนอก

สุดท้าย ขอขอบคุณคุณ @kengggg ที่ให้ยืมเครื่องในการรีวิวนะครับ 🙂

5 Comments

  1. […] หลังจากที่โซนีออก Pocket Edition ที่มีราคาต่ำกว่า $200 ไปแล้ว ในตอนนี้ก็มีผู้ผลิตเครื่องอ่านอีบุ๊คที่ราคาต่ำกว่า $150 (ต่ำกว่า 5000 บาท) ออกมาแล้ว โดยเป็นเครื่องอ่านอีบุ๊คจาก บริษัทที่ชื่อว่า Kobo และเป็นเครื่องอ่านอีบุ๊คแบบ eInk หน้าจอหกนิ้ว ที่มีความสามารถคล้าย ๆ กับเครื่องอ่านอีบุ๊คเจ้าอื่นคือ มีหน่วยความจำภายในขนาด 1GB และเพิ่ม SD card ได้ แบตเตอรี่อยู่ได้ 2 อาทิตย์ หรือว่า 8000 หน้าพลิก และสนับสนุนแฟ้มแบบ PDF หรือ ePUB ที่ใช้ DRM ของ Adobe […]

  2. Rinslet พูดว่า:

    เจ้าตัวเล็กนี่ไม่มีโปรแกรมดูภาพใช่มั๊ยคะ
    แล้วไฟล์ PDF หรือ e-book ที่มีภาพประกอบ จะดูภาพได้หรือเปล่าคะ
    หรือมีแต่ตัวหนังสืออย่างเดียว

  3. pruet พูดว่า:

    เครื่องอ่านรุ่นนี้ จะดูรูปพวก jpeg หรือว่า png ไม่ได้ครับ แต่จะดูรูปในแฟ้ม PDF หรือว่า ePUB ได้ครับ ลองดูตัวอย่างท้ายบทความนี้นะครับ เป็นรูปในแฟ้ม ePUB

    http://weread.in.th/245

  4. blackestblack พูดว่า:

    รุ่นนี้พอจะหาซื้อตามร้านของ Sony ได้เลยไหมครับ แล้วราคาจะอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ครับ

  5. pruet พูดว่า:

    โซนีไม่เอาเข้ามาขายในเมืองไทย อยากได้ต้องไปสั่งตามร้านที่หิ้วเข้ามานะครับ

Leave a Reply

 

แนะนำหนังสือ

The Memory Keeper’s Daughter เป็นผลงานชิ้นแรก และเป็นผลงานสร้างชื่อให้แก่ Kim Edwards ชนิดถล่มทลายไปเลยค่ะ

คนที่โกหกหลอกลวงไม่ว่าจะด้วยความหวังดีหรือว่าเอาตัวรอดนั้น จะต้องแบกความรู้สึกผิดเอาไว้ตลอด
ทันทีที่เริ่มโกหก ก็เหมือนเริ่มปลูกเมล็ดแห่งความลับที่จะเติบโตเป็นต้นลงทัณท์ตามหลอกหลอนคนปลูกไปตลอด

เรื่องทั้งหมดในหมวด

เทคนิคและเคล็ดลับ

ก่อนอื่น ต้องบอกว่า การ์ตูนในที่นี้เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่แปลเป็นภาษาอังกฤษนะครับ ใครที่อยากอ่านการ์ตูนภาษาไทย ก็ข้ามไปได้เลยครับ 🙂

นักอ่านการ์ตูนหลาย ๆ คน คงรู้จักเว็บไซท์ onemanga.com ที่เป็นเว็บรวมการ์ตูนที่แปลโดยอาสาสมัคร ซึ่งก็มีการ์ตูนดัง ๆ เกือบจะทุกเรื่องเลยทีเดียว

เรื่องทั้งหมดในหมวด