หนึ่งร้อยปี โรซา พาร์คส์ กับการต่อสู้กับชนชั้นในสังคมที่ไม่สิ้นสุด

เขียนโดย: pruet, กุมภาพันธ์ 4th, 2013

ในหัวข้อ: บทความ

แทก: ,

หนึ่งความเห็น



ท่านสามารถนำบทความใน WeRead ไปเผยแพร่ เผยแพร่ ดัดแปลง ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องทำลิงค์กลับมาที่บทความต้นฉบับเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติมที่คำประกาศสิทธิ์


วันที่ 4 กุมภาพันธ์เป็นวันครบรอบวันเกิดของโรซา พาร์คส์ (Rosa Parks) เธอคงจะเป็นเพียงแม่บ้านธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่เมืองมองโกเมอรี (Montgomery) รัฐอลามามา (Alabama) ถ้าในวันที่ 1 ธันวาคม คศ. 1955 เธอไม่ได้ขึ้นรถประจำทางสายถนนครีฟแลนด์ (Cliveland Avenue) หมายเลข 2857 เพื่อกลับบ้าน เมืองมองโกเมอรีก็เหมือนเมืองอื่น ๆ ในรัฐทางใต้ของสหรัฐในขณะนั้น นั่นคือมีการแบ่งแยกชนชั้นระหว่างคนผิวสีและผิวขาวในลักษณะที่เรียกว่า Segregate หรืออาจจะเรียกเป็นไทยได้ว่า เท่าเทียมกันแต่ไม่เหมือนกัน เนื่องด้วยกฏหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐกำหนดไว้ว่า คนทุกคนเท่าเทียมกัน แต่รัฐทางใต้ ซึ่งแพ้สงครามกลางเมืองก่อนหน้านั้น ก็ยังไม่สามารถจะยอมรับได้ จึงมีการออกกฏหมายในลักษณะ Segregate นั่นคือจัดให้มีบริการหรือสิทธิ์ต่าง ๆ เหมือนกัน แต่ไม่รวมกัน เช่น คนผิวดำสามารถรับการศึกษาได้เช่นเดียวกับคนผิวขาว แต่แยกโรงเรียนกัน ในการขนส่งมวลชนก็เหมือนกัน คนผิวดำสามารถขึ้นรถประจำทางได้เช่นเดียวกับคนผิวขาว แต่นั่งได้เฉพาะด้านหลังรถ และเมื่อมีคนผิวขาวขึ้นมา ก็ต้องสละที่นั่งของตัวเองให้ นี่เป็นกฏหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปในสมัยนั้น

1280px-Rosa_Parks_Bus

รถประจำทางหมายเลข 2857 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ Henry Ford Museum

แต่ในวันที่ 1 ธันวาคาม 2498 โรซา พาร์คส์ ซึ่งนั่งอยู่บนรถประจำทางสายถนนครีฟแลนด์ตัดสินใจว่า เธอได้ทนมามากพอแล้ว เธอจะไม่ทนอีกต่อไป เมื่อพนักงานขับรถเดินมาบอกเธอว่า เธอต้องสละที่นั่งให้กับผู้ชายผิวขาวที่เพิ่งขึ้นมา เธอจึงปฏิเสธไป

นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันที่เรียกว่า Montgomery Bus Boycott

ก่อนหน้านี้มีการเรียกร้องความเท่าเทียมกันของคนผิวดำในสหรัฐ หรือที่เรียกว่าคนอาฟริกันอเมริกัน เนื่องจากคนผิวดำในสหรัฐมีบรรพบุรุษเป็นคนผิวดำในอาฟริกาที่ถูกจับเป็นทาสในสมัยที่คนในยุโรปมาตั้งรกรากในสหรัฐหลังจากการเดินทางของโคลัมบัส ในสหรัฐมาตั้งแต่ต้นยุค 50s แล้ว เมื่อนักเรียนผิวดำในโรงเรียนหลายแห่งเริ่มประท้วงว่าโรงเรียนของตนนั้นมีเด็กเรียนอยู่หนาแน่นเกินไป เมื่อเทียบกับโรงเรียนของคนผิวขาว และในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ คศ. 1954 ศาลสูงสหรัฐก็ตัดสินว่า การแบ่งแยกโรงเรียนขัดต่อรัฐธรรมนูญข้่อที่ 14 ของสหรัฐ แต่นั่นก็ไม่ได้หยุดยั้งความพยายามที่จะแบ่งแยกชนชั้นของเหล่าผู้ปกครองในรัฐทางภาคใต้ของสหรัฐ

ในปีต่อมา โรซา พาร์คส์ก็ตัดสินใจว่า ไม่เฉพาะการศึกษาเท่านั้นที่ไม่ควรจะถูกแบ่งแยก การใช้ชีวิตประจำวันก็เช่นกัน เธอและสามีต่างเป็นผู้สนับสนุนการเรียกร้องความเท่าเทียมกันโดยการเป็นสมาชิกของ NAACCP ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี คศ. 1909 เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันระหว่างคนผิวสีและคนผิวขาว ซึ่งบนรถประจำทางสายคลีฟแลนด์เธอก็คงตัดสินใจว่า เธอต้องทำอะไรมากกว่าการสนับสนุน และเมื่อเธอไม่ยอมย้ายที่นั่ง และยอมถูกจับภายใต้กฏหมาย Segregate ของเมืองมองโกเมอรี

ในรายการวิทยุรายการหนึ่ง เธอให้สัมภาษณ์ว่าในตอนนั้น สิ่งที่เธอคิดคือ

“I would have to know for once and for all what rights I had as a human being and a citizen.”

“ฉันอยากรู้เหมือนกันว่า ฉันมีสิทธิ์อะไรในความเป็นมนุษย์และความเป็นพลเมือง”

สามวันถัดมาหลังจากเธอถูกจับ ได้มีการจัดการประท้วงที่เรียกว่า Montgomery Bus Boycott โดยมีการเรียกร้องให้คนผิวสีในเมืองมอนท์โกเมอรีไม่ใช้บริการรถประจำทางของเมืองในวันที่โรซาขึ้นศาล ดังนั้นถึงแม้ว่าฝนจะตกในวันนั้น แต่คนผิวสีในเมืองมอนท์โกเมอรีกว่าสี่หมื่นคน ต่างพากันเดินลุยฝนกลับบ้าน และหลังจากวันนั้น ก็ได้มีการตั้งองค์กรที่ชื่อว่า Montgomery Improvement Association เพื่อเป็นผู้ประสานงานในการประท้วง ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้ประสานงานก็คือ ดอกเตอร์ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ หรือ MLKjr ผู้ที่เพิ่งย้ายเข้ามาเป็นบาทหลวงในโบสถ์แห่งหนึ่งของเมืองมอนท์โกเมอรี ซึ่งภายใต้การประสานงานของเขา ชาวผิวสีก็ทำการประท้วงไม่ขึ้นรถประจำทางเป็นเวลายาวนานถึง 381 วัน ซึ่งส่งผลอย่างรุนแรงต่อบริการรถประจำทางของเมือง เนื่องด้วยคนผิวสีเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ ในที่สุดเมืองมอนท์โกเมอรีก็ต้องแก้กฏหมายเรื่องการแบ่งแยกการขึ้นรถประจำทางในที่สุด

Rosaparks_bus

โรซา พาร์คส์ ในวันที่กฏหมายแบ่งแยกการนั่งรถประจำทางถูกยกเลิก

หลังจากเหตุการณ์ในวันนั้น โรซา พาร์คส์ ก็กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของคนผิวสี และรถประจำทางหมายเลข 2857 ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เช่นกัน

โรซา พาร์คส์เสียชีวิตด้วยโรคชราในวันที่ 24 ตุลาคม คศ. 2005 ที่เมืองดีทรอยด์ เมืองดีทอรยด์และเมืองมอนท์โกเมอรีประกาศว่าเก้าอี้แถวหน้าของรถประจำทางทุกคันในเมืองจะถูกผูกไว้ด้วยริบบินสีดำเพื่อเป็นการระลึกถึงเธอจนกว่าจะถึงวันฝังศพ ศพของเธอถูกนำกลับไปที่เมืองมอนท์โกเมอรีเพื่อไว้อาลัย โดยหนึ่งในผู้ที่กล่าวไว้อาลัยคือ นางคอนโดลิซา ไรซ์ ผู้หญิงผิวดำคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของสหรัฐ และเย็นวันนั้น โลงศพของเธอ ก็ถูกนำไปยังเมืองวอชิงตันดีซี บนรถประจำทางแบบเดียวกับที่เธอเคยก้าวขึ้นไปเมื่อห้าสิบปีที่แล้ว ที่เมืองวอชิงตัวดีซี โลงศพของเธอถูกวางไว้ที่ใต้โดมของตึกรัฐสภาสหรัฐ (United State Capital) เพื่อไว้อาลัย ที่เรียกว่า State Funeral in The United States นี่เป็นการไว้อาลัยอย่างที่สุดที่รัฐบาลสหรัฐจะให้ได้ ซึ่งในอดีต มีเฉพาะหล่าประธานาธิบดีและวีรบุรุษของชาติที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ที่จะได้รับเกียรตินี้

รัฐบาลสหรัฐได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า โรซา พาร์คส์ เป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านั้น

1280px-Barack_Obama_in_the_Rosa_Parks_bus

บารัก โอบามา ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐ นั่งอยู่บนรถบัสคันเดียวกัน

ถ้าไปถามคนในสหรัฐว่าหนังสือเล่มไหนที่สื่อถึงความไม่เทียมกันระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวสี To Kill a Mockingbird
ต้องเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีคนจำนวนมากคิดถึงแน่ ๆ ด้วยการเล่าเรื่องที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง ทำให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อยู่ในใจของผู้อ่านตลอดช่วงเวลาห้าสิบกว่าปีที่หนังสือเล่มนี้พิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับตัวผู้เขียนเอง คือ ฮาร์เปอร์ ลี ก็เขียนหนังสือเล่มนี้เพียงเล่มเดียว และเชื่อกันว่าเนื้อเรื่องของหนังสือ ดัดแปลงมาจากชีวิตวัยเด็กของเธอเอง แต่เธอก็ไม่ได้ตอบรับเขียนมาจากชีวิตของเธอ กล่าวแต่เพียงว่า นักเขียนควรเขียนเรื่องที่ตัวเองรู้และเขียนตรงไปตรงมา หนังสือเล่มนี้มีแปลไทยแล้ว ชื่อว่าผู้บริสุทธิ์ และสามารถอ่านวิจารณ์เพิ่มเติมได้ที่เว็บ Faylicity ครับ

สำหรับชื่อเรื่องนั้น มาจากส่วนหนึ่งในหนังสือที่กล่าวว่า

Atticus warns them that, although they can “shoot all the bluejays they want”, they must remember that “it’s a sin to kill a mockingbird”.

แอทติคัสเตือนพวกเขาว่า ถึงแม้พวกเขาจะยิงนกบลูเจย์ได้ทุกตัว แต่พวกเขาต้องจำไว้ว่า การฆ่านกมอคคิงเบิร์ดนั้น เป็นบาป

นั่นคือแม้แต่นก ก็ยังไม่เท่าเทียมกัน

ภาพประกอบทั้งหมด จากวิกิพีเดียครับ

แนะนำหนังสือ

The Memory Keeper’s Daughter เป็นผลงานชิ้นแรก และเป็นผลงานสร้างชื่อให้แก่ Kim Edwards ชนิดถล่มทลายไปเลยค่ะ

คนที่โกหกหลอกลวงไม่ว่าจะด้วยความหวังดีหรือว่าเอาตัวรอดนั้น จะต้องแบกความรู้สึกผิดเอาไว้ตลอด
ทันทีที่เริ่มโกหก ก็เหมือนเริ่มปลูกเมล็ดแห่งความลับที่จะเติบโตเป็นต้นลงทัณท์ตามหลอกหลอนคนปลูกไปตลอด

เรื่องทั้งหมดในหมวด

เทคนิคและเคล็ดลับ

ก่อนอื่น ต้องบอกว่า การ์ตูนในที่นี้เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่แปลเป็นภาษาอังกฤษนะครับ ใครที่อยากอ่านการ์ตูนภาษาไทย ก็ข้ามไปได้เลยครับ 🙂

นักอ่านการ์ตูนหลาย ๆ คน คงรู้จักเว็บไซท์ onemanga.com ที่เป็นเว็บรวมการ์ตูนที่แปลโดยอาสาสมัคร ซึ่งก็มีการ์ตูนดัง ๆ เกือบจะทุกเรื่องเลยทีเดียว

เรื่องทั้งหมดในหมวด