อีอิงค์: เทคโนโลยีสำหรับนักอ่าน

เขียนโดย: pruet, ธันวาคม 13th, 2009

ในหัวข้อ: รีวิว

แทก: , , ,

ไม่มีความเห็น



ท่านสามารถนำบทความใน WeRead ไปเผยแพร่ เผยแพร่ ดัดแปลง ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องทำลิงค์กลับมาที่บทความต้นฉบับเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติมที่คำประกาศสิทธิ์


อีอิงค์ (E Ink) เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลที่ทำให้เครื่องอ่านอีบุ๊คแตกต่างจากอุปกรณ์แสดงภาพอื่น ๆ โดยการอ่านข้อความบนจอแสดงผลแบบอีอิงค์จะเหมือนกับการอานข้อความบนกระดาษ

อีอิงค์ เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาโดย MIT Media Lab ในช่วงปี 2540 แล้วนักวิจัยก็นำผลงานวิจัยดังกล่าวมาเปิดเป็นบริษัทชื่อว่า E Ink Corporation เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนี้ขายในเชิงธุรกิจ โดยเทคโนโลยีของอีอิงค์จะใช้หลักการการสะท้อนแสงและไฟฟ้าสถิตแบบง่าย ๆ

รูปภาพจาก Wikipedia

รูปภาพจาก Wikipedia

รูปข้างบนแสดงหลักการของอีอิงค์ แต่ละจุดสี  (Pixel) ที่เราเห็นบนจออีอิงค์นั้น จะเป็นลูกบอลใสเล็ก ๆ (หมายเลข 3) ที่บรรจุน้ำมันอยู่ด้านใน (6) และภายในลูกบอลยังมีเม็ดสี สีขาว (4) และสีดำ (5) ที่มีความไวต่อประจุไฟฟ้าต่างกัน โดยถ้าแผ่นประจุไฟฟ้าด้านล่างลูกบอล (7) มีประจุบวก มันก็จะดึงดูดให้ลูกบอลสีดำจมลงด้านล่าง ในขณะที่ลูกบอลสีขาวจะลอยขึ้นด้านบน ดังนั้น ถ้ามีแสง(9)มาตกกระทบลูกบอล แสงที่สะท้อนเข้าตาเราก็จะเป็นสีขาว ทำให้เราเห็นจุดสีนั้นเป็นสีขาว

ในทางกลับกัน ถ้าแผ่นประจุ(7)มีประจุลบ มันก็จะผลักให้เม็ดสีดำลอยขึ้นด้านบน ซึ่งพอสะท้อนแสงเราก็จะเห็นเป็นจุดสีดำ และถ้าแผ่นประจุมีประจุไฟฟ้าทั้งลบและบวก เราก็จะเห็นทั้งเม็ดสีสีขาวและสีดำ ซึ่งสมองเราก็จะประมวลผลเป็นสีเทาไป

ด้วยหลักการทำงานแบบนี้ ทำให้อีอิงค์มีทั้งข้อดีและข้อเสียปะปนกันไป

ข้อดี

  • การแสดงผลใช้หลักการสะท้อนแสงแบบเดียวกับหนังสือ ทำให้สบายตากว่าจอแสดงภาพที่เปล่งแสงในตัว (เช่นจอทีวี หรือว่าจอคอมพิวเตอร์) ทำให้เราอ่านหนังสือบนเครื่องอ่านที่ใช้จออีอิงค์ได้นานกว่า
  • การแสดงผลไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าตลอดเวลา จะเห็นว่าเราใช้ไฟฟ้าเมื่อต้องการสลับสีเท่านั้น แต่ถ้าไม่มีการสลับเม็ดสีก็ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าอีกเลย เมื่อเทียบกับจอของคอมพิวเตอร์ที่ถึงแม้ว่าจะแสดงภาพเดิม ก็ต้องใช้ไฟฟ้าอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้นเครื่องอ่านอีบุ๊คที่ใช้จอแบบอีอิงค์จึงใช้งานได้นานก่อนที่จะต้องนำไปชาร์จไฟอีกครั้ง (อายุของแบตเตอรีของเครื่องอ่านอีบุ๊คมันจะบอกเป็นจำนวนการพลิกหน้า เช่น 7000 หน้า นั่นเอง)
  • จอแบบอีอิงค์ไม่มีการกระพริบ  (Flicker) ด้วยเหตุผลด้านบน ทำให้ไม่มีการระคายเคืองสายตา เหมือนเวลาใช้คอมพิวเตอร์ที่มี refresh rate ต่ำ ๆ
  • จอภาพแบบอีอิงค์มีความมัน (Glossy) ต่ำมาก ทำให้เวลาอ่านกลางแจ้งแล้วไม่ปวดตา

ข้อเสีย

  • เนื่องจากการเปลี่ยนค่าสีของหน้าจอใช้การเคลื่อนที่ของเม็ดสี ทำให้ความไวในการเปลี่ยนหน้าจอ (refresh rate) ต่ำมาก โดยปรกฏิจะอยู่ที่ 0.5-1 วินาที (เทียบกับ 1/60-1/100 ของวินาทีของจอคอมพิวเตอร์ทั่วไป) ทำให้หน้าจอแบบอีอิงค์ไม่เหมาะกับการแสดงภาพเคลื่อนไหว
  • การเปลี่ยนหน้าจอแต่ละครั้ง จะต้องมีการล้างหน้าจอให้เป็นสีดำทั้งหมดก่อน แล้วจึงแสดงผลหน้าจอใหม่ ซึ่งสำหรับผู้ใช้ที่ยังไม่ชิน จะปวดตามาก
  • หลังจากการเปลี่ยนหน้าจอ อาจจะมีจุดเม็ดสีเหลือค้างอยู่ (Ghosting) นึกภาพว่าคล้าย ๆ กระดาษที่เละหมึกเป็นจุดเล็ก ๆ
  • การแสดงผลใช้การสะท้อนแสง ดังนั้น หน้าจอแบบอีอิงค์ไม่สามารถใช้งานในที่มืดได้ และแผงหลังหน้าจออีอิงค์ (หมายเลข 8 ในรูปด้านบน) เป็นแบบทึบ จึงไม่สามารถใส่หลอดไฟด้านหลัง (back-light) ได้
  • ปัจจุบัน เครื่องอ่านอีอิงค์เป็นแบบขาวดำเท่านั้น และแสดงระดับความเข้มสีเทาได้มากสุดที่ 16 ระดับ แต่ว่าหน้าจออีอิงค์แบบสีก็กำลังถูกพัฒนา และคาดว่าในปี 2553 น่าจะเริ่มออกวางขายได้

สุดท้าย ผมถ่ายภาพหน้าจอแบบต่างๆ เปรียบเทียบให้ดูนะครับ อาจจะเห็นความแตกต่างได้ยากสักหน่อยเวลาดูผ่านจอคอมพิวเตอร์ แต่ก็คงพอให้เห็นเป็นแนวทางได้

เริ่มจากภาพถ่ายตัวหนังสือจากกระดาษธรรมดาก่อน

ภาพถ่ายจากหน้าจอแบบอีอิงค์ (เครื่องอ่านอีบุ๊คของโซนีรุ่น PRS505)

ภาพจากหน้าจอไอพอดทัช (iPod Touch)

ภาพจากหน้าจอโทรศัพทมือถือ Nokia N78

น่าจะพอเห็นความแตกต่างบ้างนะครับ

ปี 2553 นี่น่าจะเป็นปีทองของเครื่องอ่านอีบุ๊คเลยทีเดียว ด้วยระดับราคาที่ถูกลงมาเรื่อง ๆ (ตอนนี้รุ่นที่ถูกสุดน่าจะอยู่ที่ $150-199 แล้ว) และมีบริษัทหนังสือใหญ่ ๆ เช่น อมาซอน หรือว่า บาร์นส์และโนเบิลมาเล่นด้วย หวังว่าในเมืองไทยนอกจาก ebooks.co.th แล้ว จะมีบริษัทอื่น ๆ (เช่น โซนี ) เอาเข้ามาขายให้เราได้ใช้กันบ้างนะครับ

แนะนำหนังสือ

The Memory Keeper’s Daughter เป็นผลงานชิ้นแรก และเป็นผลงานสร้างชื่อให้แก่ Kim Edwards ชนิดถล่มทลายไปเลยค่ะ

คนที่โกหกหลอกลวงไม่ว่าจะด้วยความหวังดีหรือว่าเอาตัวรอดนั้น จะต้องแบกความรู้สึกผิดเอาไว้ตลอด
ทันทีที่เริ่มโกหก ก็เหมือนเริ่มปลูกเมล็ดแห่งความลับที่จะเติบโตเป็นต้นลงทัณท์ตามหลอกหลอนคนปลูกไปตลอด

เรื่องทั้งหมดในหมวด

เทคนิคและเคล็ดลับ

ก่อนอื่น ต้องบอกว่า การ์ตูนในที่นี้เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่แปลเป็นภาษาอังกฤษนะครับ ใครที่อยากอ่านการ์ตูนภาษาไทย ก็ข้ามไปได้เลยครับ 🙂

นักอ่านการ์ตูนหลาย ๆ คน คงรู้จักเว็บไซท์ onemanga.com ที่เป็นเว็บรวมการ์ตูนที่แปลโดยอาสาสมัคร ซึ่งก็มีการ์ตูนดัง ๆ เกือบจะทุกเรื่องเลยทีเดียว

เรื่องทั้งหมดในหมวด