เมื่อปลายปีที่แล้วผมซื้อเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้เครื่องหนึ่ง รุ่น ญานกรณ์ V6 ถือติดมือไปอ่านทุกสถานที่ แต่ด้วยความขี้ลืมวางทิ้งไว้ในห้างไอทีแห่งหนึ่ง กลับไปอีกทีหายไปเสียแล้ว เสียดายมากเพราะเป็นเครื่องมือที่ถูกใจจริงๆ
ต่อมาเปลี่ยนไอพอดรุ่นเก่าเป็นรุ่นทัช ลองหาหนังสือมาอ่านในนั้น ด้วยโปรแกรม Stanza ก็พอใช้ได้ แต่รู้สึกว่าจอเล็กไปหน่อย อ่านไม่มัน จึงมองหาเครื่องอ่านใหม่อีกครั้ง ไปพบว่า Onyx Boox นำเครื่องอ่านรุ่นใหม่ที่น่าสนใจมากออกมาแสดงในงาน CES พอตามไปดูหน้าตาและความสามารถ ก็สนใจมาก ไม่รู้จะไปซื้อได้ที่ไหน
พอดีเห็นเขามีปะยี่ห้อ Bebook Neo มาขายล่วงหน้า ของยังไม่มา ให้จ่ายเงินจองไว้ก่อน ผมยังไม่แน่ใจว่าจะยอมจ่ายก่อนดีไหม เข้าไปดูเว็บของเขาเกือบทุกวัน พอเห็นว่าของส่งถึง BeBook แล้วจึงรีบสั่งล่วงหน้า (ค่าเครื่อง $299 ค่าส่ง $25)จากนั้นก็รอประมาณเจ็ดวันจึงมีอีเมลแจ้งมาว่าส่งให้แล้วทาง FedEx
หีบห่อ
จากนั้นเพียงสามวัน ของก็มาถึง กล่อง FedEx ที่ใส่มาขนาดใหญ่กว่ากล่อง BeBook Neo ถึงสองเท่า
ด้านหลังกล่องมีสเปกเครื่อง
แกะออกมามี Neo บรรจุถุงพลาสติกวางคว่ำหน้า
แกะออกมาเห็นเต็มหน้า
ช่องต่างๆ อยู่ด้านล่างของจอ ประกอบด้วยช่อง (จายซ้ายไปขวา) SD Card (ไม่เกิน 16GB) ช่องเสียบหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มม. (เล่น MP3 ได้) ปุ่มเปิด-ปิด-สแตนด์บาย ช่องเสียบ USB ปุ่ม Volume Up/Down
Neo มีไวไฟด้วย ปุ่มอยู่ข้างเครื่อง ด้นซ้ายมือ (ไม่มีรูป) ในกล่องนอกจากเครื่อง ยังมีสาย USB หนึ่งเส้น คู่มือเริ่มแบบเร็วหนึ่งแผ่น เท่านี้เอง
การใช้งาน
ครั้งแรกที่ใช้ต้องชาร์จไฟ 12 ชั่วโมง วันแรกที่ได้เครื่อง เลยยังใช้ไม่ได้ ต้องรอวันต่อไป เปิดเครื่องด้วยการกดปุ่มบนสันด้านล่าง ปุ่มนี้ถ้าอ่านหนังสืออยู่แล้วกดทีหนึ่ง จะเข้าสู่สถานะสแตนด์บาย มีหน้าจออย่างนี้
เครื่อง Neo ใช้เทคโนโลยี e-ink หน้าจอขนาด 6 นิ้ว ไล่สีเทาได้ 16 ระดับ จอสัมผัสใช้สไตลัสที่ติดอยู่มุมบนซ้ายด้านหลังเป็นตัวสัมผัส ใช้นิ้วหรือเล็บจะไม่ติด จอสัมผัสเป็นของ Wacom ผู้ผลิต tablet ชื่อดัง Neo สามารถเปิดอีบุ๊กได้หลายรูปแบบ เช่นเดียวกับเครื่องอ่านส่วนใหญ่
การอ่าน PDF และ epub สามารถย่อขยายได้ 5 ขนาด ๆ เล็กที่สุดคือเต็มหน้า สามารถพลิกจอได้ 90 องศา อ่านแบบตะแคงได้ และยังสามารถซูมหน้าจอได้ด้วย ซึ่งต่างจากการขยายขนาดตัวอักษร เพราะไม่เกิดการตัดบรรทัดจัดหน้าใหม่
ข้อดีอีกอย่างคือแสดง PDF แบบเรียงหน้าลงไปเรื่อยๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องเปิดทีละหน้า อันนี้ดีมาก เพราะเวลาอยากดูบรรทัดสุดท้ายของหน้าที่แล้ว จะได้ไม่ต้องสลับหน้าไปมา ใช้สไตลัสลากลงมาดูใหม่ได้เลย
การทำให้ PDF อยู่ตรงกลางไม่ชิดข้าง ให้ Zoom เป็น page width แล้ว Zoom ต่อเป็นเปอร์เซ็นต์
ภาษาไทย ใช้ได้เฉพาะใน PDF ส่วน epub ยังใช้ไม่ได้ เพราะไม่ตัดบรรทัดให้
epub สามารถขยายตัวหนังสือได้ใหญ่ถึงใจ
ปุ่มกลมๆ ที่เห็นมีสามวง วงนอกเอาไว้พลิกหน้าไปมา เปิดเมนู และกลับไปเมนูก่อนหน้า วงกลางที่เห็นเป็นสีเงิน เอาไว้ขยับเคอร์เซอร์เวลาอยู่ในเมนู หรือเปลี่ยนขนาดตัวอักษร ปุ่มกลางคือปุ่ม OK = ปุ่ม enter
หากไม่ใช้ปุ่ม จะใช้สไตลัสเคาะตรงมุมล่างซ้ายก็เปิดเมนูได้เหมือนกัน และเคาะบนจอเลือกตัวเลือก ไฮไลต์ หรือวาดรูป ก็ได้ เมนูที่เห็นใช้เลือกขนาดตัวอักษร
เมนูนี้ใช้จัดการไฟล์ ข้อสำคัญคือลบไฟล์ได้
และวาดหรือเขียนลงบนจอเพื่อบันทึกก็ได้ ซูมเข้าไปวาดแบละเอียดด้วยเส้นหนาก็ได้ (อันนี้ชอบมาก)
Neo มีไวไฟด้วย แต่ยังไม่ได้ทดลอง
ชอบ
- เล็ก บาง ถือง่าย ด้านหลังเป็นโลหะ
- ออกแบบปุ่มได้มีประสิทธิภาพดี
- จอสัมผัสทำให้เรียกใช้ส่วนต่างๆ ได้รวดเร็ว
- เป็นสมุดโน้ตฉุกเฉินได้
ไม่ชอบ
- ไม่ขายพร้อมปก และยังไม่มีปกมาขาย
- จอสัมผัสบางทีไม่ตอบสนองสไตลัส
- ปุ่มสแตนด์บายไม่ใช่ปุ่มล็อกคีย์ ฉะนั้นถ้าเผลอไปกดปุ่มไหนเข้า เครื่องก็เปิดเองได้
การใช้พจนานุกรม เครื่องให้มาแต่โปรแกรมจัดการ ส่วนข้อมูลพจนานุกรม ต้องไปดาวน์โหลดพจนานุกรมจากเว็บ Stardict ใน Sourceforge แตกลงไปติดตั้งใน SD card folder “dicts” ก็จะใช้ได้
เครื่อง Neo ดูจะกินไฟกว่าเครื่องเก่าของผมมาก แต่ก็อยู่ได้หลายวัน
11 Comments
น่าสนใจมาก
อ่านภาษาไทยได้ด้วย
ขอบคุณมากครับสำหรับรีวิวพร้อมรูป
ชอบ:
1. หุ่นสวยเนียน เรียบง่าย คลาสสิค ดูสำอาง
2. ใช้สไตลัสขีดเขียนได้
3. ใช้สายมินิยูเอสบี
4. อ่านอีบุ๊คได้หลายฟอร์แมทมาก
ไม่ชอบ
1. ไม่มีปุ่มพลิกหน้าด้านข้าง (่อ่านมือเดียวอาจจะยากกว่า??)
2. ถ้าใช้นิ้วแตะได้จะเยี่ยมมากครับ
มีคำถามครับ
1. ความชัดของจอเทียบกับญาณกรณ์เป็นยังไงครับ
2. หากมีเวลาเล่น รบกวนทดสอบหลายๆฟอร์แมทว่านีโอถนัดแสดงฟอร์แมทไหนได้ดีๆบ้าง
3. เข้าเน็ตได้เฉพาะ wiki และกูเกิ้ล เท่านั้น หรือว่าเข้าเว็บอื่นๆทั่วๆไปได้
4. ไม่ทราบ hyperlink ในหน้าเอกสารทำงานหรือเปล่าครับ ถ้าได้ ได้กับทุกฟอร์แมทสำคัญๆ เช่น pdf, mobi, html ?
5. pdb ที่ว่าสนับสนุน เป็น palmdoc หรือ ereader ครับ
ขอบคุณอีกครั้งสำหรับรีวิวครับ
ตอบคุณ bthoven
อยากให้มีปุ่มพลิกหน้าด้านข้างเหมือนกันครับ สะดวกดี เสียดายที่ไม่มี ส่วนเรื่องใช้นิ้วแทนสไตลัสไม่ต้องก็ได้ เพราะใช้แล้วไม่แม่น เพียงแต่กลัวว่าถ้าสไตลัสหายจะทำอย่างไร ใช้อย่างอื่นก็ดูจะเขียนไม่ได้ ต้องลองต่อไป
1. สลัวกว่าญาณกรณ์เล็กน้อย เข้าใจว่าเพราะมีแผ่นรับสัมผัสบังอยู่ แต่ในสถานการณ์ทั่วไปที่แสงอ่านหนังสือได้ตามปกติก็ใช้ได้
2. เท่าที่ทดลอง นอกจาก pdf กับ epub ก็ใช้ txt, pdb (ไม่มี drm), html ได้ดี ส่วน prc, pdb w drm (mobi) ยังลองไม่ได้
3. เข้าเน็ตทั่วไปได้หมดครับ แต่ไม่มี flash และ wifi จะต้องมีการเข้ารหัสแบบ wpa (เป็น wpa-psk ก็ได้) ใช้กับ wep ไม่ได้เลย
4. ยังไม่ได้ทดลองจากใน pdf และ mobi แต่จาก html ได้อยู่แล้ว
5. pdb น่าจะเป็น palmdoc ครับ เพราะเป็นของไม่มี drm
เพิ่มเติมเรื่องพจนานุกรม ถามไปทาง bebook เขาให้ไปหาพจนานุกรมมาใส่เอง ได้ทำแล้ว และใช้ได้เรียบร้อย ต้องใช้ Stardict format ซึ่งมีพจนานุกรมให้เลือกมากมาย ผมเลือกใช้ MW Collegiate ed10 เอาไปวางใน SD card folder “dicts” ก็ใช้ได้เลย (ผมแก้ในบทความไว้ด้วยแล้ว)
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับคุณวิษณุ
ถ้าใช้ Stardict ได้นี่ ไม่รู้ว่าใช้ Dict En-TH แบบ http://www.mrchoke.org/node/183 ได้มั้ยครับ
ไปดูแล้วรู้สึกอยากให้ทำได้จังเลย แต่ทำไม่ได้เพราะไม่มีฟอนต์ไทยครับ ถ้ามีฟอนต์ไทยอย่างญาณกรณ์คงทำได้ครับ
มันสามารถแก้ไขงานจากwordได้มั้ยค่ะ
Здравствуйте!!
В прошлом месяце назад решился на замену балконной группы.
Моя семья живет в старом доме, окна не меняли с начала постройки.
По просьбе жены решил покупать не пластиковые , а алюминиевые конструкции.
изучил информацию в интернете и согласился – слишком много вредных веществ выделяет пластик.
Чтобы не переплачивать за западный бренд, решил выбрать фасадное остекление.
Делюсь своим опытом после недели использования.
холодный воздух окна не пропускают, створки легко открываются, красиво выглядят, удивляют соседей и гостей.
Алюминий не горит, не дымит, не желтеет на солнце.
etepuyizire206@gmail.com
Europe, and in Ancient Russia